วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โครงสร้างหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

โครงสร้างหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วน้ำนม

หัวใจ

หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ( รวมทั้งคน ) มีลักษณะใกล้เคียงกันจึงสามารถหามาทำกิจกรรมได้โดยง่ายโดยใช้หัวในหมู
               ตำแหน่งของหัวใจคนจะตั้งอยู่ในทรวงอกค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย มีเยื่อหุ้มหัวใจเรียกว่า เพอริคาร์เดียม ( Pericadium ) ล้อมรอบ ซึ่งมีน้ำเหลืองหล่อเลี้ยงอยู่ภายในเยื่อหุ้มนี้ หัวใจประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นนอกและชั้นในเป็นชั้นเนื้อเยื่อบุผิวบาง ๆ แต่เนื้อเยื่อชั้นกลางนั้นหนามาก เพราะเป็นส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจ ( Cardiac muscle ) ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่มีการทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ และมีลายเล็กน้อย หากตัดกล้ามเนื้อหัวใจจะแยกออกเป็น 2 แฉก และต่อเนื่องกันกับเซลล์อื่น ๆ โดยตลอด
 

รูปที่ 6.103 ลักษณะที่ตั้งของหัวใจ และขนาดของหัวใจ
   
หัวใจมองจากด้านล่าง

หัวใจมองจากด้านหลัง


รูปที่ 104 แผนภาพแสดงหัวใจและหลอดเลือดที่หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
              การหมุนเวียนเลือดในคนมีความซับซ้อนมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามคงมีหลักการเดียวกับสัตว์ชั้นสูงโดยทั่ว ๆ ไป ที่มีหัวใจเป็นตัวสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายตลอดเวลาและหัวใจมี 4 ห้อง คือเอเตรียม 2 ห้อง และเวนตริเคิล 2 ห้องเลือดดีจะอยู่ซีกซ้าย และเลือดเสียจะอยู่ทางซีกขวา ซีกซ้ายใหญ่กว่าซีกขวา โดยดูจากร่องแบ่ง ซีกซ้ายของหัวใจมีหลอดเลือด 2 เส้น คือ พัลโมนารีเวน( Pulmonary vein ) เป็นเส้นรับเลือดจากปอดซ้ายและขวาเพื่อเข้าสู่เอเตรียมซ้าย ส่วนซีกขวาของหัวในมีหลอดเลือด 2 เส้น รับเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวในห้องเอเตรรียมขวา เส้นนี้คือ เวนาคาวา เป็นหลอดเลือดที่มีผนังบางแต่เป็นเส้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งแบ่งเป็นซูพีเรีย เวนาคาวา  ( Superior venacava ) รับเลือดเสียจากส่วนหัวและแขน และอินฟีเรีย เวนาคาวา ( Inferior venacava ) รับเลือดเสียจากลำตัวและขา ถ้าติดตามเส้นเวนาคาวาเข้าไปจะถึงหัวในห้องเอเตรียมขวา เมื่อเอเตรียมขวาบีบตัว เลือดจะไหลลงสู่เวนตริเคิลขวา โดยผ่านลิ้นสามแฉกหรือ ลิ้นไตรคัสปิด ( Tricuspid vale ) ลิ้นนี้มีลักษณะลู่ลงไปยังห้องเวนตริเคิล แสดงว่าทิศทางของเลือดจะไหลจากบนลงล่าง เมื่อผ่าห้องเวนตริเคิลของหัวใจพบว่าห้องเวนตริเคิลซ้ายหนากว่าห้องเวนตริเคิลขวา แสดงว่าการบีบตัวของห้องเวนตริเคิลซ้ายมีมาก เนื่องจากต้องสูบฉีดเลือดให้ไปเลี้ยงได้ทั่วร่างกาย ห้องเวนตริเคิลขวาผนังบางกว่าห้องเวนตริเคิลซ้าย เพราะสูบฉีดเลือดส่งไปฟอกที่ปอดเท่านั้น
               ในหัวใจห้องเอเตรียมซ้ายกับห้องเวนตริเคิลซ้ายมีทางต่อถึงกัน โดยมีลิ้นไบคัสปิด              ( Bicuspid vale ) คือลิ้นที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ 2 แผ่น ปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนขึ้นไปสู่ห้องเอเตรียมซ้าย จากเวนตริเคิลซ้ายนี้มีหลอดเลือดนำเลือดออกจากเวนตริเคิลซ้ายไปเลี้ยงร่างกาย หลอดเลือดนี้คือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่บางคน เรียกว่า ขั้วหัวใจหรือเอออร์ตา ( Aorta ) ในหลอดเลือดนี้มีลิ้นเซมิลูนาร์ ( Semilunar valve ) เป็นลิ้นลักษณะครึ่งวงกลม 3 ชิ้น ชนกันเช่นเดียวกับในพัลโมนารีอาร์เตอรี ( Pulmonary artery ) ที่นำเลือดจากหัวใจเวนตริเคิลขวาไปปอดก็มีลิ้นลักษณะเดียวกันนี้กั้นอยู่ เพื่อกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนเข้าสู่หัวใจห้องล่างอีก หากสูบฉีดออกไปจากหัวใจแล้ว

รูปที่ 105 แผนภาพผ่าหัวใจตามยาว

สรุป       หัวใจ 4 ห้อง ประกอบด้วย
        1. เอเตรียมขวา เป็นหัวใจห้องบนขวา รับเลือดที่ใช้แล้วจากร่างกายเข้าสู่หัวใจ โดยรับเลือดจากซูพีเรีย เวนาคาวา ซึ่งรับเลือดมาจากส่วนหัวและแขนและอีกเส้นหนึ่งคือ อินฟิเรีย เวนาคาวา ซึ่งรับเลือดจากลำตัวและขา
         2. เอเตรียมซ้าย เป็นหัวใจห้องบนซ้าย รับเลือดดีที่มีออกซิเจนสูงจากปอด กลับเข้าหัวใจทางหลอดเลือดพัลโมนารีเวน
        3. เวนตริเคิลขวา หรือหัวใจห้องล่างขวา รับเลือดจากเอเตรียมขวาส่งไปฟอกที่ปอด โดยหลอดเลือดพัลโมนารีเวน
        4. เวนตริเคิลซ้าย หรือหัวใจห้องล่างซ้าย รับเลือดจากเอเตรียมซ้ายซึ่งเป็นเลือดดี ส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาศัยหลอดเลือดเอออร์ตา เวนติเคิลซ้ายมีผนังกล้ามเนื้อหนาที่สุด

ลิ้นหัวใจ
               ลิ้นหัวใจกั้นระหว่างห้องต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ได้แก่
               1. ลิ้นไตรคัสปิด  ( Tricuspid valve ) 
          กั้นระหว่างหัวใจห้องเอเตรียมขวาและเวนตริเคิลขวา มีลักษณะเป็นเยื่อ 3 ชิ้น โดยเปิดให้เลือดไหลจากห้องเอเตรียมลงสู่เวนตริเคิล และเมื่อเวนตริเคิลบีบตัวมีความดันสูงขึ้นจะดันให้ลิ้นนี้ปิด ป้องกันเลือดไหลย้อนกลับสู่เอเตรียมขวา
             2.ลิ้นไบคัสปิด ( Bicuspid vale )  หรือลิ้นไมตรัล ( Mitral valve )

              กั้นระหว่างหัวใจห้องเอเตรียมซ้ายกับเวนตริเคิลซ้าย เป็นเยื่อ 2 ชิ้น ที่ยอมให้เลือดไหลจากห้องบนลงสู่ห้องล่าง แต่จะปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับห้องเอเตรียมซ้าย
           3. ลิ้นเซมิลูนาร์ ( Semilunar valve ) 
      มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมกั้นระหว่างเวนตริเคิลขวากับโคนหลอดเลือดพัลโมนารี อาร์เตอรี จึงเรียกว่า ลิ้นพัลโมนารีเซมิลูนาร์ ( Pulmonary senilunar valve ) อีกลิ้นหนึ่งกั้นระหว่างเวนตริเคิลซ้ายกับโคนหลอดเลือดเอออร์ตา จึงเรียกว่า ลิ้นเอออร์ติกเซมิลูนาร์ ( Aortic semilunar valve )


ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=8aDSh52z1j0

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Gt7J_aDTLsk


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น